จันทร์. พ.ค. 29th, 2023

Consignment Objective

Propose of Spare Parts Control

  • ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้งานและความน่าเชื่อถือ (Efficiency and Reliability) ของเครื่องจักรอุปกรณ์ ผ่านกระบวนการ จัดซื้อ จัดจ้าง และจัดเก็บ ที่มีประสิทธิภาพ
  • สร้างความมั่นใจให้กับงาน Breakdown Maintenance และงาน Preventive Maintenance ว่าเมื่อใดก็ตามที่ต้องการใช้อะไหล่เพื่อการซ่อม หรือเพื่อการบำรุงรักษา ต้องหาได้ในทันทีหรือใช้เวลาน้อยที่สุด
  • ลดจำนวนอะไหล่คงคลังหรือ Spare Parts Inventory ให้เหลือน้อยที่สุด เพื่อลดต้นทุนจม เพื่อลดต้นทุนการจัดเก็บ และเพื่อลดพื้นที่ในการจัดเก็บ

Classification of Maintenance Material

การจำแนกประเภทของวัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษาถือเป็นขั้นแรกของการบริหารและควบคุมอะไหล่ เพื่อนำไปจัดลำดับความสำคัญ และหาแนวทางหรือวิธีการที่เหมาะสมในการจัดซื้อและจัดเก็บต่อไป

  • อะไหล่หรืออุปกรณ์สำหรับการเปลี่ยนปกติ ตามคาบเวลาที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน
  • อะไหล่หรืออุปกรณ์สำหรับความต้องการฉุกเฉินหรือฉับพลัน หรือ Breakdown Spare Parts
  • อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่ต้องสำรองไว้ตลอดเวลาในสต๊อก หรือ Reservation Spare Parts
  • อะไหล่หรืออุปกรณ์ที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้ ไม่ว่าจะกับเครื่องเดิมหรือเครื่องอื่น ที่โดยปกติเก็บรักษาไว้ที่ฝ่ายซ่อมบำรุง
  • เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการบำรุงรักษา (Maintenance Tools)

Ordering Method

วิธีการสั่งซื้อสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆได้แก่ การสั่งซื้อเฉพาะรายการตามเวลาที่ต้องการใช้ (Individual Order) การสั่งซื้อเป็นงวดตามปกติ (Permanent Stock Method) และการสั่งซื้อแบบสัญญาพิเศษกับผู้ขาย (Special Contract Method)

  • Individual Order
    ซื้อเฉพาะรายการ ปริมาณและเวลาที่ต้องการเท่านั้น ไม่สนใจเรื่องส่วนลด และค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อต่อครั้ง แต่มีข้อดีในเรื่องปริมาณอะไหล่ที่ต้องจัดเก็บ แต่ก็ต้องเสี่ยงกับการส่งของล้าช้าจากผู้ขาย
  • Permanent Stock Method
    จะมีปริมาณอะไหล่คงเหลือตลอดเวลา และทำการสั่งซื้อทุกครั้งเมื่อถึงเวลาเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อ ได้ส่วนลดมาก และที่สำคัญง่ายต่อการออกรายการสั่งซื้อ แต่ก็มีบ่อยครั้งที่ซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ เมื่อถึงเวลาใช้กลับเสื่อมสภาพ นอกจากนั้นบางครั้งของที่ใช้ไม่ได้ซื้อ ของที่ซื้อไม่ได้ใช้ ดังนั้น Permanent Stock จึงต้องวิธีที่เหมาะสม

    • Fix-quantity Order – กำหนดปริมาณสั่งซื้อคงที่
      • Order-point Method
      • Double-bin Method
      • Package Method
      • Batch Issue Method
    • Fix-period Order– กำหนดเวลาในการสั่งซื้อคงที่
    • Fix-number– กำหนดปริมาณการใช้คงที่และสั่งซื้อเท่ากับปริมาณการใช้ที่กำหนดไว้
  • Special Contract Method
    เป็นการกำหนดสัญญาพิเศษขึนมากับผู้ขายเพื่อให้เกิดความสะดวกตามเงื่อนไขที่ต้องการในการสั่งซื้อ การจัดส่ง และการจัดเก็บ โดยทั้งหมดจะถูกเชื่อมโยงมาที่ประสิทธิภาพของการจัดซื้อที่ว่า มีอะไหล่ให้ใช้อย่างทันท่วงที เวลาที่ต้องการ ในขณะที่ปริมาณอะไหล่คงคลังอยู่ในระดับต่ำ โดยทั่วไปสัญญาพิเศษมักมีเงื่อนไขต่อไปนี้

    • Partial-delivery Method – เป็นการซื้อในปริมาณมากแต่ให้ผู้ขายทยอยมาส่ง ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายและการบริหารจัดการในด้านการจัดเก็บ
    • Deposit System – ผู้ขายจะนำวัสดุอุปกรณ์หรืออะไหล่มาไว้ในโรงงานของผู้ซื้อ (ใน warehouse) และคิดค่าใช้จ่ายเฉพาะเท่าที่ใช้ไป ทั้งนี้เพื่อไม่ต้องการให้เงินจมไปกับการจ่ายทั้งหมดในคราวเดียว ในขณะที่มีอะไหล่หรืออุปกรณ์ให้ใช้ได้อย่างทันท่วงทีอีกด้วย