ในส่วนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัย จะเห็นว่าความสำคัญของ กระบวนการทางอาชีวอนามัยและกฎหมายที่สนับสนุน แยกออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้
1. การตรวจร่างกาย พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ในหมวดที่ 8 มาตรา 107 กำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพของลูกจ้าง และส่งผลการตรวจแก่พนักงาน ตรวจแรงงาน ตามหลักเกณฑ์และวิธีที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งเปิดกว้างกว่าประกาศ กระรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฉบับเก่าซึ่งกำหนดการตรวจร่างกายอย่าง น้อยปีละหนึ่งครั้งโดยแพทย์แผนปัจจุบันและให้มีการเก็บรักษาผลการตรวจไว้อย่างน้อยห้าปี แต่ในทางปฏิบัติแล้วส่วนมากจะใช้การตรวจแบบไม่มีจุดมุ่งหมาย คือ ไม่สัมพันธ์ กับงาน และสิ่งคุกคาม ที่มีอยู่ในสภาพแวดล้อมในการทำงานนั้น เนื่องจากยังไม่มี กฎหมายบังคับว่า การทำงานประเภทใด การตรวจร่างกายจะต้องตรวจอะไรบ้าง อย่างไร ก็ตาม ถ้าผู้ประกอบอาชีพตระหนักว่าการทำงานทำให้เกิดโรคได้ และเจ้าของสถาน ประกอบการเข้าใจหลักการว่าถ้าสุขภาพดี งานที่ทำออกมาก็ได้คุณภาพดีตามไปด้วย เรื่องเหล่านี้ก็จะได้รับการดูแล รับผิดชอบมากขึ้น และขณะเดียวกันนี้ก็ได้มีการร่าง กฎหมายเกี่ยวกับการตรวจร่างกายก่อนเข้าทำงานก่อนบรรจุงานและการกลับเข้าทำงานหลักการเจ็บป่วยและย้ายงาน ซึ่งจะเป็นกฎหมายทีทำให้เกิดการป้องกันสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพและมีข้อมูลพื้นฐานด้านสุขภาพตั้งแต่เริ่มปฏิบัติงานด้วย
2. กฎหมายเกี่ยวกับการจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประกอบด้วย ความสำคัญในด้านต่างดังนี้ 2.1 ระยะเวลาการทำงาน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หมวด 2 มาตรา
2.2 กำหนดให้นายจ้างประกาศเวลาการทำงานปกติให้ลูกจ้างทราบ โดยวันหนึ่งต้องไม่เกิน แปดชั่วโมง และในสัปดาห์หนึ่งไม่เกินสี่สิบแปดชั่วโมง ยกเว้นงานที่อันตรายต่อสุขภาพ และความปลอดภัยตามที่กำหนดในกฎกระทรวงจะต้องมีเวลาทำงานปกติไม่เกินเจ็ด ชั่วโมงและไม่เกินสี่สิบสองชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ ในหมวดที่ 3 มาตรา 38 ห้ามมิให้ลูกจ้าง ที่เป็นหญิงทำงานเหมืองแร่หรืองานก่อสร้างที่ทำใต้ดิน ใต้น้ำ ในถ้ำ ในอุโมงค์ หรือใน ปล่องภูเขา ยกเว้นลักษณะของงานไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกายของลูกจ้างนั้น งานที่ต้องทำบนนั่งร้านที่สูงกว่าพื้นดินตั้งแต่สิบเมตรขึ้นไป งานผลิตหรือขนส่งวัตถุระเบิด หรือวัตถุไวไฟ และงานอื่นตามที่กฎกระทรวงกำหนด และในมาตรา 39 ห้ามมิให้นายจ้าง ให้ลูกจ้างหญิงมีครรภ์ ทำงานช่วงเวลา 22 ถึง 6 นาฬิกา ทำงานล่วงเวลา ทำงานใน วันหยุดหรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ งานเกี่ยวกับเครื่องจักร หรือ เครื่องยนต์ ที่มีการสั่นสะเทือน งานขับเคลื่อนหรือติดไปกับยานพาหนะ งานยกแบก หาม ทูน ลาก หรือเข็นของหนักเกินสิบห้ากิโลกรัม งานที่ทำในเรือและงานอื่นตามที่ กฎกระทรวงกำหนด ในมาตรา 40 ยังให้สิทธิแรงงานสตรีเข้าทำงานระหว่าง 24 ถึง 6 นาฬิกา ถ้ามีสุขภาพไม่ดีหรืองานเป็นอันตรายต่อสุขภาพ นายจ้างอาจต้องเปลี่ยนหรือลด ชั่วโมงตามที่เห็นสมควร
2.3 สิ่งแวดล้อมในที่ทำงาน ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในที่ทำงานเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อมโดยเฉพาะทางด้านกายภาพ ได้แก่ ความร้อน แสง สี เสียง ดังนี้
2.2.1 ความร้อน มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ดังนี้
1. ภายในสถานที่ประกอบการที่มีลูกจ้างทำงานอยู่ จะมีสภาพ ความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิของร่างกายของลูกจ้างสูงเกิน 38 องศาเซลเซียสมิได้
2. ในกรณีที่ภายในสถานที่ประกอบการมีสภาพความร้อนที่ทำให้ อุณหภูมิของร่างกายของลูกจ้างสูงกว่า 38 องศาเซลเซียสให้นายจ้างดำเนินการแก้ไข หรือปรับปรุงเพื่อลดสภาพความร้อนนั้นหากแก้ไขหรือปรับปรุงไม่ได้นายจ้างจะต้องจัดให้ลูกจ้างมีเครื่องป้องกันความร้อนมิให้อุณหภูมิของร่างกายลูกจ้างสูงกว่า 38 องศา เซลเซียส
3. ในกรณีที่ร่างกายของลูกจ้างสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส นายจ้าง จะต้องให้ลูกจ้างหยุดพักชั่วคราวจนกว่าอุณหภูมิของร่างกายลูกจ้างจะอยู่ในสภาพปกติ
4. ในกรณีที่เป็นแหล่งกำเนิดความร้อนที่มีสภาพความร้อนสูงถึง ขนาดเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของบุคคล ให้นายจ้างต้องปิดประกาศเตือนให้ทราบ
5. ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานใกล้แหล่งกำเนิดความร้อนที่ทำให้อุณหภูมิในบริเวณนั้นสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส สวมชุดแต่งกาย รองเท้าและถุงมือ
2.2.2 แสงสว่างมีประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าภายในสถาน ประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปนี้ 2.2.2.1 งานที่ไม่ต้องการความละเอียด เช่น การขนย้าย การบรรจุ การบด การเกลี่ยวัตถุชนิดหยาบ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์ 2.2.2.2 งานที่ต้องการความละเอียดเล็กน้อย เช่น การผลิตหรือ การประกอบชิ้นงานหยาบ ๆ การสีข้าว การสางฝ้าย หรือการปฏิบัติงานขั้นแรกใน กระบวนการอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 100 ลักซ์
2.2.2.3 งานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่น การเย็บผ้า การเย็บหนัง การประกอบภาชนะ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 200 ลักซ์ 2.2.2.4 งานที่ต้องการความละเอียดสูงกว่าที่กล่าวมาในเบื้องต้น แต่ไม่ละเอียดมากเป็นพิเศษ เช่น การกลึงหรือตกแต่งโลหะ การซ่อมแซมเครื่องจักร การ ตรวจตราและทดสอบผลิตภัณฑ์ การตกแต่งหนังสัตว์และผ้าฝ้ายการทอผ้า เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 300 ลักซ์ 2.2.2.5 งานที่ต้องการความละเอียดเป็นพิเศษ และต้องใช้เวลา ทำงานนั้นนาน เช่น การประกอบเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่มีขนาดเล็ก นาฬิกาการเจียระไนเพชร พลอย การย้อมผ้าที่มีสีมืดทึบ เป็นต้น ต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่ น้อยกว่า 1,000 ลักซ์ 2.2.2.6 ถนนและทางเดินภายนอกอาคารในบริเวณสถานที่ ประกอบการต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์
2.2.2.7 ในโกดังหรือห้องเก็บวัสดุ ทางเดิน เฉลียง และบันไดใน บริเวณสถานที่ประกอบการต้องมีความเข้มของแสงสว่างไม่น้อยกว่า 50 ลักซ์
2.2.2.8 ให้นายจ้างป้องกันมิให้แสงตรงหรือสะท้อนของดวง อาทิตย์หรือเครื่องกำเนิดที่มีแสงจ้างส่องเข้าลูกตาลูกจ้างในขณะทำงาน ในกรณีที่ไม่อาจ ป้องกันได้ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทำงานในลกัษณะเช่นว่านั้นสวมใส่แว่นหรือกระบังหน้าหน้าลดแสงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหมวด 4 ตลอดเวลาที่ทำ
2.2.2.9 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างซึ่งทำงานในถ้ำหรืออุโมงค์หรือในสถานที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ สวมหมวกแข็งที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่างตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ในหมวด 4
2.2.3 เสียง ประกาศกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดไว้ว่า ภายในสถานที่ ประกอบการให้ลูกจ้างคนใดคนหนึ่งทำงานดังต่อไปนี้
2.2.3.1 ไม่เกินวันละเจ็ดชั่วโมง ต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ ติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเอ็ดเดซิเบล (เอ) 2.2.3.2 เกินวันละเจ็ดชั่วโมงแต่ไม่เกินแปดชั่วโมงจะต้องมีระดับ เสียงที่ลูกจ้างได้รับติดต่อกันไม่เกินเก้าสิบเดซิเบล (เอ) 2.2.3.3 เกินวันละแปดชั่วโมงจะต้องมีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ ติดต่อกันไม่เกินแปดสิบเดซิเบล (เอ)
2.2.3.4 นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานในที่ที่มีระดับเสียงเกินกว่า หนึ่งร้อยยี่สิบเดซิเบล (เอ) มิได้ 2.2.3.5 ภายในสถานที่ประกอบการที่มีระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับ ติดต่อกันเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อที่ผ่านมาให้นายจ้างแก้ไขหรือปรับปรุงสิ่งที่เป็นต้น กำเนิดของเสียงหรือทางผ่านของเสียง มิให้มีระดับเสียงดังเกินกว่าที่กำหนดไว้ในเบื้องต้น
2.2.3.6 ในกรณีที่ไม่อาจปรับปรุงหรือแก้ไขตามข้อกำหนดได้ให้ นายจ้างจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ปลั๊กลดเสียงหรือครอบหูลดเสียง ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ใน หมวด 4 ตลอดเวลา
2.2.4 มาตรฐานคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
2.2.4.1 หมวกแข็งจะต้องมีน้ำหนักไม่เกินสี่ร้อยยี่สิบกรัม ทำด้วย วัตถุที่ไม่ใช่โลหะและมีความต้านทานสามารถทนแรงกระแทกได้ไม่น้อยกว่าสามร้อยแปด สิบห้ากิโลกรัม ภายในหมวกต้องมีรองหมวกทำด้วยหนัง พลาสติก ผ้า หรือวัตถุอื่นที่ คล้ายกันอยู่ห่างผนังหมวกไม่น้อยกว่าหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งสามารถรองปรับระยะได้ตาม ขนาดศรีษะของผู้ใช้เพื่อป้องกันหนังศรีษะกระทบกบังผนังหมวก สำหรับหมวกแข็งที่มีอุปกรณ์ส่องแสงสว่าง นอกจากจะต้องเป็น หมวกที่มีมาตรฐานตามที่กำหนดไว้แล้ว จะต้องมีอุปกรณ์ที่ทำให้มีแสงสว่างที่มีความเข้ม ไม่น้อยกว่า 20 ลักซ์ ส่องไปข้างหน้าติดอยู่ที่หมวกด้วย
2.2.4.2 ปลั๊กลดเสียง (ear plugs) ต้องทำด้วยพลาสติก หรือยาง หรือ วัตถุอื่น ใช้ใส่ช่องหูทั้งสองข้าง ต้องสามารถลดระดับเสียงลงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)
2.2.4.3 ครอบหูลดเสียง (ear muffs) ต้องทำด้วยพลาสติก หรือยาง หรือวัตถุอื่น ใช้ครอบหูทั้งสองข้าง ต้องสามารถลดระดับเสียงลงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล (เอ)
2.2.4.4 แว่นตาลดแสง ตัวแว่นต้องทำด้วยกระจกสีซึ่งสามารถลด ความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา กรอบของแว่นต้องมีน้ำหนัก เบาและมีกระบังแสงซึ่งมีลักษณะอ่อน 2.2.4.5 กระบังหน้าลดแสง ตัวกระบังต้องทำด้วยกระจกสีซึ่ง สามารถลดความจ้าของแสงลงให้อยู่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อสายตา ตัวกรอบต้องมีน้ำหนักเบาและต้องไม่ติดไฟง่าย
2.2.4.6 ชุดแต่งกาย รองเท้าและถุงมือสำหรับ ป้องกันความร้อนตามกำหนดต้องทำด้วยวัตถุที่มีน้ำหนักเบาสามารถกันความร้อนจากแหล่งกำเนิดความ ร้อนได้
2.2.5 เบ็ดเตล็ด
2.2.5.1 ข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยที่ กำหนดไว้ในประกาศนี้ เป็นมาตรฐานขั้นต่ำที่จะต้องปฏิบัติเท่านั้น HA 233 183 2.2.5.2 งานใดที่มีลักษณะไม่เหมาะสมแก่การที่จะให้ลูกจ้างใช้ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ดังที่ได้ระบุไว้ในประกาศนี้ นายจ้างอาจผ่อน ผันให้ลูกจ้างระงับการใช้อุปกรณ์นั้นเฉพาะการปฏิบัติงานในลักษณะเช่นว่าเป็นการ ชั่วคราวได้
2.2.5.3 ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่า สภาพความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง ในบริเวณสถานที่ประกอบการมิได้เป็นไปตามกำหนดไว้ในประกาศนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำ ตักเตือนเป็นหนังสือให้นายจ้างปฏิบัติการให้ถูกต้องใน ระยะเวลาที่กำหนดไว้