จันทร์. พ.ค. 29th, 2023

3. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในที่ทำงานเกี่ยวกับ สภาพแวดล้อม (สารเคมี) ซึ่งมีสาระสำคัญพอสรุปได้ ดังนี้ สาระสำคัญของกฎหมายประเภทของสารเคมีอันตราย ประกอบด้วย – เส้นใย คือ สารที่มีลักษณะยาวคล้ายเส้นด้าย และเหนียว เช่น แอสเบสตอส เฉลี่ยตลอดเวลาท างานไม่เกิน 5 เส้นใย/อากาศลูกบาศก์เซนติเมตร – ฝุ่น คือ ของแข็งขนาดเล็กเล็กที่ลอยอยู่ในอากาศ เช่น ซิลิก้า (Silica) ฝุ่นที่ สามารถเข้าและสะสมในถุงลมปอดได้ตามมาตรฐานห้ามเกินกว่า 250 Mppcf หรือ 10 mg/m3 – แมงกานีส (Manganese Dust) ห้ามเกินกว่า 5 mg/m3 – ฝุ่นแคดเมียม(Cadmium Dust) กำหนดค่าเฉลี่ยตลอดเวลาทำงานห้ามเกิน 0.2 mg/m3 ค่าสูงสุดห้ามเกิน 0.6 mg/m3 – ตะกั่ว (Lead) ห้ามเกิน 0.2 mg/m3 เฉลี่ยตลอดระยะเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมง – ฝุ่นฝ้าย เดบิ 1 mg/m3 ละออง ของเหลวขนาดเล็กที่ลอยในอากาศ เช่น – กรดไนตริก (Nitric Acid) ค่ามาตรฐานห้ามเกิน 2 ppm หรือ 5 mg/m3 – กรดกำมะถัน (Sulfuric Acid) ห้ามเกิน 1 mg/m3 ฟูม ของแข็งขนาดเล็กเกิดจากการรวมตัวกันของไอของสาร เช่น – ฟูมของสังกะสีคลอไรด์ (Zinc Chloride) ห้ามเกิน 1 mg/m3 – ฟูมของสังกะสีออกไซด์ (Zinc Oxide) ห้ามเกิน 5 mg/mฟูมของแคดเมี่ยม (Cadmium) ห้ามเกิน 0.1 mg/m3 สูงสุด 3 mg/m3 – ฟูมของทองแดง ห้ามเกิน 0.1 mg/m3 แก๊สของเหลวปริมาณหรือรูปทรงไม่แน่นอนที่สามารถฟุ้งกระจายได้ – คาร์บอมอนอกไซด์ 50 ppm หรือ 55 mg/m3 – คลอรีน (Chlorine) 1 ppm หรือ 3 mg/m3 – แอมโมเนีย 50 ppm หรือ 35 mg/m3 – ฟอสฟีน (Phosphine) 0.3 ppm หรือ 0.4 mg/m3 – ไอ เกิดจากการระเหยหรือระเหิด เช่น ไอกรด ไอโซเดียม (Sodium Hydroxide) ห้ามเกิน 2 mg/m3 – ไอไวนิล คลอไรด์ ห้ามเกิน 1 ppm หรือ 2.8 mg/m3 การป้องกัน
1. ดำเนินการแก้ไข้ปรับปรุงเพื่อลดความเข้มข้นของสารเคมีหรือปริมาณฝุ่นไม่ให้เกินกว่าที่กำหนดไว้
2. สวมใส่ที่กรองอากาศ หรือเครื่องช่วยหายใจที่เหมาะสม
3. สวมใส่ถุงมือยาง รองเท้าพื้นยางหุ้มแข้งกระบังหน้าชนิดใส ป้องกันสารเคมี กระเด็นถูก
4. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตราย ซึ่งกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยสำหรับ
ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้ดังนี้ “สารเคมีอันตราย” หมายความว่า สารประกอบ สารผสม ซึ่งอยู่ในรูปของ ของแข็ง ของเหลว หรือแก๊สที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือหลายอย่างดังต่อไปนี้ – มีพิษ กัดกร่อน ระคายเคือง ทำให้เกิดอาการแพ้ก่อมะเร็งหรือทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัย – ทำให้เกิดการระเบิด เป็นตัวทำปฏิกิริยาที่รุนแรง
เป็นตัวเพิ่มออกซิเจนหรือ ไวไฟ มีกัมมันตภาพรังสีทั้งนี้ ตามชนิดและประเภทที่อธิบดีประกาศกำหนด

4.1 การทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย ประกอบด้วยข้อกำหนดดังนี้
4.1.1 การขนส่ง เก็บรักษา เคลื่อนย้ายและกำจัด หีบห่อภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตราย ให้นายจ้างปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดี กำหนด
4.1.2 ห้ามมิให้ นายจ้าง ขนส่งเก็บรักษา เคลื่อนย้ายหรือนำสารเคมี อันตรายเข้าไปในสถานประกอบการ จนกว่านายจ้างจะได้จัดให้มีฉลากขนาดใหญ่ พอสมควร ปิดไว้ที่หีบห่อภาชนะบรรจุหรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายทุกชิ้น ฉลากนั้น จะต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
4.1.3 สัญลักษณ์ที่แสดงถึงอันตราย และคำว่า “สารเคมีอันตาย” หรือ “วัตถุมีพิษ” หรือคำอื่นที่แสดงถึงอันตรายตามชนิดของสารเคมีอันตรายนั้นเป็นอักษรสี แดงหรือดำขนาดใหญ่กว่าอักษรอื่นซึ่งเห็นได้ชัดเจนดังนี้
1. ชื่อทางเคมีหรือชื่อวิทยาศาสตร์ของสารเคมีอันตราย
2. ปริมาณและส่วนประกอบของสารเคมีอันตราย
3. อันตรายและอาการเกิดพิษจากสารเคมีอันตราย
4. คำเตือนเกี่ยวกับวิธีเก็บ วิธีใช้ วิธีเคลื่อนย้ายสารเคมีอันตราย และวิธีหีบห่อ ภาชนะบรรจุ หรือวัสดุห่อหุ้มสารเคมีอันตรายอย่างปลอดภัย ทั้งนี้ให้มี สาระสำคัญโดยสรุปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด
4.1.4 วิธีปฐมพยาบาลเมื่อมีอาการหรือความเจ็บป่วยเนื่องจากสารเคมี อันตรายและคำแนะนำให้รับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์
4.1.4.1 ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการแจ้ง รายละเอียดต่ออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายในเจ็ดวันนับแต่ วันที่มีสารเคมีอันตรายไว้ในครอบครอง
4.1.4.2 ให้นายจ้างที่มีสารเคมีอันตรายในสถานประกอบการ จัดทำรายงานความปลอดภัยและประเมินการก่ออันตรายของสารเคมีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง และแจ้งให้อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ ประเมิน
4.1.4.3 นายจ้างจะต้องดูแลหรือแก้ไขปรับปรุงมิให้มีปริมาณความ เข้มข้นของสารเคมีอันตรายภายในสถานที่ที่ให้ลูกจ้างทำงานเกินกว่าที่กระทรวงมหาดไทย กำหนด
4.1.4.4 ให้นายจ้างจัดสถานที่ทำงานของลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับสารเคมีอันตรายให้มีสภาพและคุณลักษณะดังนี้ – ถูกสุขลักษณะ สะอาดและเป็นระเบียบเรียบร้อย – มีการระบายอากาศที่เหมาะสม โดยเฉพาะออกซิเจน ต้องมีไม่ต่ำกว่าร้อยละสิบแปดโดยปริมาตรของบรรยากาศ – มีระบบป้องกันและกำจัด เช่น ใช้ระบบระบายอากาศเฉพาะที่ ระบบเปียกการปิดคลุมเพื่อมิให้มีสารเคมีอันตรายในบรรยากาศเกินปริมาน
4.1.4.5 นายจ้างจะต้องแจ้งและปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ห้ามลูกจ้างเข้าพักในสถานที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย สถานที่เก็บรักษาสารเคมี อันตราย หรือยานพาหนะขนส่งสารเคมีอันตราย
4.1.1.6 ให้นายจ้างจัดให้มีป้ายแจ้งข้อความว่า “สถานที่เก็บ สารเคมีอันตราย ห้ามเข้าโดยไม่ได้รับอนุญาต” ปิดประกาศไว้ที่ทางเข้าสถานที่นั้นให้เห็น ชัดเจนตลอดเวลา
4.1.4.7 ให้นายจ้างปิดประกาศหรือทำป้ายแจ้งข้อความ “ห้าม ลูกจ้างสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่ม รับประทานอาหาร หรือเก็บอาหาร” ด้วย ตัวอักษรขนาดที่ เห็นได้ชัดเจนติดไว้บริเวณที่เก็บรักษาที่ผลิตหรือที่ขนย้ายสารเคมีอันตรายและจะต้อง ควบคุมดูแลมิให้ลูกจ้างกระทำตามข้อห้ามนั้นด้วย
4.1.4.8 ให้นายจ้างจัดชุดทำงานสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตรายและจัดให้มีที่เก็บชุดทำงานนั้นแยกไว้โดยเฉพาะ
4.1.4.9 ให้นายจ้างจัดทำที่ชำระล้างสารเคมีอันตราย เช่น ฝักบัว ที่ล้างตา ไว้ในบริเวณที่ลูกจ้างทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย เพื่อให้ลูกจ้างสามารถใช้ได้ทันที เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
4.1.4.10 ให้นายจ้างจัดที่ล้างมือ ล้างหน้าสำหรับลูกจ้าง ที่ทำงาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้โดยเฉพาะไม่น้อยกว่าหนึ่งที่ต่อลูกจ้างสิบห้าคนและให้เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนของลูกจ้าง ส่วนที่เกินเจ็ดคนให้ถือเป็นสิบคน เพื่อใช้ก่อน รับประทานอาหารก่อนดื่มเครื่องดื่มและก่อนออกจากที่ทำงานทุกครั้ง
4.1.4.11 ให้นายจ้างจัดให้มีห้องอาบน้ำสำหรับลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายไว้โดยเฉพาะเพื่อให้ชำระร่างกายไม่น้อยกว่าหนึ่งห้องต่อลูกจ้าง สิบห้าคน และให้เพิ่มจำนวนขึ้นตามสัดส่วนลูกจ้าง ส่วนที่เกินเจ็ดคนให้ถือว่าเป็นสิบห้าคน ทั้งนี้จะต้องจัดของใช้ที่จำเป็นสำหรับการชำระสารเคมีอันตรายออกจากร่างกายให้ เพียงพอและมีใช้ตลอดเวลา
4.1.4.12 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจวัดปริมาณความเข้มข้นของ สารเคมีอันตรายในบรรยากาศ บริเวณสถานที่ทำงาน และสถานที่เก็บเป็นประจำทั้งนี้ ตามสภาพหรือคุณลักษณะของสารเคมีอันตราย ซึ่งอย่างช้าที่สุดต้องไม่เกินหกเดือนต่อ หนึ่งครั้ง และให้รายงานผลการตรวจแบบที่อธิบดีกำหนดต่ออธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายในสามสิบวันนับแต่วันตรวจ
4.1.4.13 ให้นายจ้างจัดให้มีการอบรมลูกจ้างที่กำหนดเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายหรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตเพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงกระบวนการผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง อันตรายที่เกิดจากสารเคมี วิธีการควบคุมและ ป้องกันวิธิกำจัดมลภาวะ วิธีอพยพเคลื่อนย้ายลูกจ้างออกจากบริเวณที่อันเกิดอันตรายและวิธีปฐมพยาบาลผู้ได้รับอันตราย
4.1.4.14 ในกรณีที่สารเคมีอันตรายรั่วไหลหรือฟุ้งกระจาย หรือ เกิดอัคคีภัยหรือเกิดการระเบิดอันอาจให้ลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วยหรือตาย อย่างเฉียบพลัน นายจ้างต้องให้ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานในบริเวณนั้น หรือในบริเวณ ใกล้เคียงหยุดงานทันที และออกไปให้พ้นรัศมีที่อาจได้รับอันตรายและให้นายจ้าง ดำเนินการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องตรวจสอบโดยมิชักช้า ให้นายจ้างแจ้งการเกิดเหตุตามวรรคหนึ่งเป็นหนังสือให้อธิบดี ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายทราบภายในยี่สิบสี่ชั่วโมง และรายงาน สาเหตุ สารเคมีอันตรายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการดำเนินการแก้ไข้ป้องกันภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่เกิดเหตุ
4.1.4.15 ให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงาน เกี่ยวกับสารเคมีอันตรายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดการตรวจสุขภาพทุกครั้งให้นายจ้างปฏิบัติดังนี้
4.1.4.16 ให้รายงานผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามแบบที่ อธิบดีกำหนดต่ออธิบดีผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบผลการตรวจ
4.1.4.17 เก็บผลการตรวจสุขภาพของลูกจ้างไว้ ณ สถานประกอบการพร้อมที่จะให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบได้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสองปีนับแต่วันสิ้นสุดของการจ้างลูกจ้างแต่ละรายเว้นแต่มีการร้องทุกข์ว่านายจ้างไม่ปฏิบัติตามประกาศนี้หรือมีการฟ้องร้องคดีแม้จะพ้นเวลาที่กำหนดให้นายจ้างเก็บรักษาเอกสารนั้นไว้จนกว่าจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาถึงที่สุดเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว
4.1.4.18 การตรวจสุขภาพของลูกจ้างตามที่ผ่านมา หากพบความผิดปกติในร่างกายของลูกจ้างหรือลูกจ้างเกิดเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานเกี่ยวกับ สารเคมีอันตรายให้นายจ้างจัดการให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที

4.2 การคุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล มีข้อกำหนดของกฎหมายดังนี้
4.2.1 ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือ รองเท้าหุ้มแข็ง กระบังหน้า ที่กันอันตรายจากสารเคมีกระเด็น ที่กรองอากาศ เครื่องช่วย หายใจ หรืออุปกรณ์ที่จะเป็นซึ่งทำจากวัสดุที่มีคุณสมบัติสามารถป้องกันสารเคมี อันตราย เพื่อให้ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายใช้หรือสวมใส่ ทั้งนี้ตามความ เหมาะสมแก่สภาพและคุณลักษณะของสารเคมีอันตรายแต่ละชนิด ลูกจ้างที่ทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตรายต้องใช้หรือสวมใส่ อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่นายจ้างจัดไว้ให้ตามวรรคหนึ่ง ถ้าลูกจ้างไม่ ใช้หรือไม่สวมใส่อุปกรณ์ กรณีดังกล่าวให้นายจ้างสั่งหยุดการทำงานลูกจ้างทันทีจนกว่าจะได้ยอมใช้หรือสวมใส่
4.2.2 ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ที่จำเป็นแก่การปฐมพยาบาล ลูกจ้างที่ได้รับอันตรายจากสารเคมี ทั้งนี้ตามที่อธิบดีกำหนด

4.3 ข้อกำหนดเบ็ดเตล็ดทั่วไปของกฎหมาย
1. ให้นายจ้างเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการให้เกิดความปลอดภัย ตามประกาศนี้
2. เมื่อปรากฏว่านายจ้างฝ่าฝืนหรือไม่ปฎิบัติตามข้อกำหนดในประการนั้นพนักงานเจ้าหน้าที่อาจให้คำเตือนเพื่อให้นายจ้างได้ปฏิบัติการให้ถูกต้องภายในเวลาที่กำหนดไว้ในคำเตือนเสียก่อนก็ได้