5. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้างซึ่งกำหนดให้นายจ้างจัดสวัสดิการเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยสำหรับลูกจ้าง ดังต่อไปนี้
5.1 ให้นายจ้างจัดให้มีน้ำสะอาดสำหรับดื่ม ห้องน้ำและส้วมอันถูกต้องตาม สุขลักษณะและมีปริมาณเพียงพอแก่ลูกจ้าง
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง คุ้มครองแรงงานดังต่อไปนี้
5.1.1 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานไม่เกินสิบห้าคน น้ำสะอาดสำหรับ ดื่มไม่น้อยกว่าหนึ่งที่ ห้องน้ำและส้วมไม่น้อยกว่าอย่างละหนึ่งที่
5.1.2 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างไม่เกินสี่สิบคน น้ำสะอาดสำหรับดื่มไม่ น้อยกว่าหนึ่งที่ ห้องน้ำไม่น้อยกว่าหนึ่งที่ และส้วมไม่น้อยกว่าสองที่
5.1.3 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานไม่เกินแปดสิบคน น้ำสะอาด สำหรับดื่มไม่น้อยกว่าสองที่ ห้องน้ำไม่น้อยกว่าหนึ่งที่ และส้วมไม่น้อยกว่าสามที่
5.1.4 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานเกินแปดสิบคนขึ้นไป น้ำสะอาด สำหรับดื่ม ห้องน้ำ ห้องส้วม เพิ่มขึ้นอีกอย่างละหนึ่งที่สำหรับจำนวนลูกจ้างทุก ๆ
ห้าสิบ คน เศษของห้าสิบคน ถ้าเกินยี่สิบห้าคนให้ถือเป็นห้าสิบคน
5.1.5 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทั้งชายและหญิง ห้องน้ำและส้วมสำหรับ หญิงใช้เฉพาะตามสมควร ส้วมต้องจัดให้ถูกต้องตามสุขลักษณะและให้มีการกระดาษชำระ หรือน้ำตามสมควร
5.2 นายจ้างต้องจัดให้มีบริการเพื่อช่วยเหลือลูกจ้างเมื่อประสบอันตรายหรือ เจ็บป่วยในการปฐมพยาบาล
หรือในการรักษาพยาบาลตามข้อกำหนดแห่งประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ดังนี้
5.2.1 สถานที่ทำงานที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่สิบคนขึ้นไปต้องมีปัจจัยในการปฐมพยาบาล คือสายยางรัดห้ามเลือด – กรรไกร – สำลี ผ้าชะแผล ผ้าพันแผล – ถ้วยล้างตา
และผ้ายางปาสเตอร์ – ถ้วยตวงยา – ถ้วยน้ำ – หลอดหยดตา – เข็มกลัด – ที่ป้ายยา – ปรอทวัดไข้ – ปากคีบปลายคู่ – ยาแก้ไฟไหม้น้ำร้อนลวก – ยาใส่แผล ชนิดเบตาดีน
แอมโมเนียหอม หรือทิงเจอร์ไอโอดีน – แอลกอฮอร์บริสุทธิ70% – ทิงเจอร์ฝิ่นการบูร – น้ำกรดบอริคล้างตา – ยาธาตุน้ำแดง – ยาแก้ปวดลดไข้ – โซดาไบคาร์บอเนต – ยาธาตุน้ำขาว – วาสลินขาว – ยาแก้บิด
5.2.2 สถานที่ทำงานอุตสาหกรรม นอกจากปัจจัยในการปฐมพยาบาล เบื้องต้นแล้ว ต้องจัดให้มีห้องรักษาพยาบาล พยาบาล แพทย์ ดังต่อไปนี้ ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันสองร้อยคนขึ้นไปต้องจัดให้มี
5.2.2.1 ห้องรักษาพยาบาลพร้อมเตียงพักคนไข้หนึ่งเตียง และ เวชภัณฑ์อันจำเป็นเพียงพอแก่การรักษาพยาบาลดังนี้ – พยาบาลไว้ประจำอย่างน้อยหนึ่งคน และ – แพทย์แผนปัจจุบันชนิดหนึ่งอย่างน้อยหนึ่งคนนเพ่อืตรวจรักษาพยาบาลเป็นครั้งคราว ถ้ามีลูกจ้างทำงานในขณะเดียวกันหนึ่งพันคนขึ้นไปต้องจัด ให้มี – ยานพาหนะพร้อมที่จะนำลูกจ้างส่งสถานพยาบาล โรงพยาบาล หรือสถานีอนามัยชั้นหนึ่งที่นายจ้างได้ตกลงไว้ เพื่อให้การรักษาพยาบาล ลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยโดยฉับพลัน
6. ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง กำหนดชนิดของโรคซึ่ง เกิดขึ้นตาม
ลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน ได้แก่
1. โรคจากสารตะกั่วหรือสารประกอบของตะกั่ว
2. โรคจากแมงกานีสหรือสารประกอบของแมงกานีส
3. โรคจากสารหนูหรือสารประกอบของสารหนู
4. โรคจากเบอริลเลี่ยมหรือสารประกอบของเบอริลเลี่ยม
5. โรคจากปรอทหรือสารประกอบของปรอท
6. โรคจากโครเมี่ยมหรือสารประกอบของโครเมี่ยม
7. โรคจากนิเกิ้ลหรือสารประกอบของนิเกิ้ล
8. โรคจากสังกสีหรือสารประกอบของสังกะสี
9. โรคจากแคดเมียมหรือสารประกอบของแคดเมี่ยม
10. โรคจากฟอสฟอรัสหรือสารประกอบของฟอสฟอรัส
11. โรคจากคาร์บอนไดซัลไฟด์
12. โรคจากไฮโดรเจนซัลไฟด์
13. โรคจากซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์หรือกรดซัลฟูริค
14. โรคจากไนโตรเจนอ๊อกไซด์หรือกรดไนตริก
15. โรคจากแอมโมเนีย
16. โรคจากคลอรีนหรือสารประกอบของคลอรีน
17. โรคจากคาร์บอนมอนนอกไซด์
18. โรคจากเบนซินหรือสารประกอบของเบนซิน
19. โรคจากฮาโลเจน ซึ่งเป็นอนุพันธุ์ของไฮโดรเย่นกลุ่มน้ำมัน
20. โรคจากสารกำจัดศัตรูพืช
21. โรคจากสารเคมีอื่นหรือสารประกอบของเคมีอื่น
22. โรคจากเสียง
23. โรคจากความร้อน
24. โรคจากความเย็น
25. โรคจากความสั่นสะเทือน
26. โรคจากความกดดันอากาศ
27. โรคจากรังสีไม่แตกตัว
28. โรคจากรังสีแตกตัว
29. โรคจากแรงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆ
30. โรคจากฝุ่น
31. โรคติดเชื้อจากการทำงาน
32. โรคอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือนื่องจากการทำงาน ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจาก
วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538
7. ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่องหลักเกณฑ์การวินิจฉัยและ การประเมินการสูญสียสมรรถภาพของผู้ป่วยหรือ
ผู้บาดเจ็บด้วยจากการทำงาน เพื่อให้ เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งมีใจความสำคัญคือ
7.1 การวินิจฉัยโรคจากการทำงานให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
7.1.1 มีหลักฐานทางการแพทย์แสดงการเจ็บป่วยดังนี้
7.1.1.1 เวชระเบียน
7.1.1.2 ผลและรายงานการชันสูตรต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับโรค
7.1.1.3 ใบรับรองแพทย์
7.1.1.4 ความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
7.2 นอกจากหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้วอาจใช้หลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง ประกอบการวินิจฉัยโรคได้ดังนี้
7.2.1 การวินิจฉัยด้วยการรักษาทางการแพทย์พิสูจน์สาเหตุของโรค เช่น โรคพาสารตะกั่วอาจจำเป็นต้องการทำการทำการตรวจทดลองรักษาไปก่อน
เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยหากอาการดีขึ้น แสดงว่าน่าจะเป็นโรคพิษจากตะกั่ว 7.2.2 อาการป่วยบางระยะสัมพันธ์กับสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีปัจจัย คุกคามในพื้นที่สงสัย
7.2.3 อาการป่วยบางระยะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเมื่อเว้นจากสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยคุกคาม
7.2.4 มีผู้ป่วยในกลุ่มผู้สัมผัสลักษณะเดียวกันมากกว่าหนึ่งราย หรือมี รายงานการสอบสวนการระบาดวิทยาสนับสนุน ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษา/รายงานในคน และสัตว์ก่อนหน้านี้
7.3 หลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรคให้อ้างอิงเอกสารทางการของ WHO, ILO และ หลักเกณฑ์สากลขององค์กรต่างประเทศที่เป็นที่ยอมรับตามลำดับ และเอกสารจะต้องเป็น ฉบับบปัจจุบันหรือเอกสารเล่มที่ออกใหม่
7.4 การประเมินการสูญเสียสมรรถภาพให้ใช้หลักเกณฑ์การประเมินการ สูญเสียสมรรถภาพ “คู่มือกำหนดแนวทางการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพทางกายและ จิต” ของคณะกรรมการที่ปรึกษาพนักงานเงินทดแทน กรมแรงงาน พ.ศ.2525 หรือจนกว่า จะมีฉบับใหม่หรือเกณฑ์จากต่างประเทศ ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป ประกาศ ณ วันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2540